เกี่ยวกับสมาคมฯ

10 May 2023

10 เดือนที่ผ่านมา

เกี่ยวกับสมาคมฯ

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นนิติบุคคลเอกชนประเภทสมาคมกีฬา จดทะเบียนสมาคมกีฬากับการกีฬาแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่กำกับดูแลกีฬาฟุตบอล, ฟุตซอล และฟุตบอลชายหาดในประเทศไทย รวมถึงทีมชาติเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ ภายใต้ข้อบังคับลักษณะปกครองของสมาคมฯ ซึ่งรับรองโดยสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) และสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) 

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2459 อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเข้าร่วมกับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2468 และเข้าร่วมกับสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เมื่อปี พ.ศ. 2497

ปรัชญา Concept การพัฒนาฟุตบอลในประเทศ

รูปภูเขาน้ำ แข็งนั้นแสดงให้เห็นถึงโมเดลด้านการพัฒนาเทคนิคของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่อยู่เหนือน้ำ จะเป็นทีมชาติชายและหญิง ซึ่งเป็นส่วนที่ปรากฎสู่สาธารณชน ขณะเดียวกัน สิ่งที่อยู่ใต้น้ำ คือส่วนของการพัฒนาด้านเทคนิค ซึ่งจำ เป็นต่อการรักษาภูเขาน้ำ แข็งให้ลอยได้ พื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่ผู้คนมองไม่เห็น แต่เป็นรากฐานที่แท้จริงของโครงการที่ประสบความสำ เร็จ

แนวคิดในการระบุลักษณะภูเขาน้ำ แข็งมี 2 ประการ ได้แก่

1. ความแข็งแกร่งของพื้นที่: หากโครงการมั่นคง ภูเขาน้ำ แข็งก็ยังคงสามารถลอยอยู่บนที่สูง หมายความว่าทีมชาติก็มีโอกาสดีในการแข่งขันและประสบความสำเร็จ

2. เอกภาพของโครงการ: แต่ละโครงการต้องเชื่อมโยงกันอย่างแข็งแรง เพื่อให้ฐานเป็นบล็อกที่แน่นหนา โดยภูเขาน้ำ แข็งมีความลึกหลายชั้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึง

พื้นฐานที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้สร้างขึ้นมาดังนี้

- ชั้นแรก ได้แก่ การวางกลยุทธ์และการวางแผนในระยะกลางและระยะยาว กลยุทธ์การพัฒนาทางเทคนิคต้องมีการวางแผนในช่วงระหว่าง 4 ถึง 8 ปี ซึ่งผลลัพธ์คือผลที่ได้มาจากการวางแผนที่สอดคล้องกันเป็นระยะเวลานาน

- ชั้นที่ 2 ได้แก่ ฟุตบอลขั้นพื้นฐาน, การอบรมผู้ฝึกสอน และการพัฒนาเยาวชน ชั้นที่ 2 นี้ถือเป็นสิ่งจำ เป็นสำ หรับความสอดคล้องของโครงการ โดยกิจกรรมสำหรับฟุตบอลระดับพื้นฐาน ในรุ่นอายุไม่เกิน 8 ปี , 10 ปี และ 12 ปี จะได้รับการส่งเสริม, เพิ่มจำ นวน และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้เล่นและครอบครัว

ส่วนโค้ชก็จะได้รับการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการฝึกอบรมแบบใหม่ในทุกระดับ (ด้วยความร่วมมือกับ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย) เช่นเดียวกับอคาเดมีฟุตบอลที่จะได้รับการพัฒนาและทำ ให้มั่นคง ผ่านระบบการแข่งขันลีกเยาวชนและระบบการออกใบอนุญาตที่มีเสถียรภาพ

- ชั้นที่ 3 เป็นเรื่องของการเก็บเกี่ยวผล หลังจากที่ชั้นที่ 2 ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถแสดงฝีเท้าในประเทศไทย โดยคัดเลือกผู้เล่นที่มีศักยภาพสูงสุดในการเป็นนักฟุตบอล และมอบสภาพแวดล้อมที่จำ เป็นต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของฟุตบอลระดับสูง

โดยเป็นผลผลิตจากระบบการอบรมผู้ฝึกสอนและการฝึกซ้อมของทีมชาติ (ผ่านการทำ วิจัยและปรัชญาฟุตบอลไทย) รวมถึงโปรแกรมเฉพาะสำ หรับฟุตบอลหญิง และความเป็นไปได้ของการฝึกซ้อมภายใต้สิ่งอำนวยความสะดวกชั้นยอด ซึ่งมีความสำ คัญต่อการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันระดับสูงสุด

ในเวลาเดียวกันความร่วมมือที่แน่นแฟ้นจะต้องเกิดขึ้นกับไทยลีก และหน่วยงานระดับชาติอื่น ๆ (การกีฬาแห่งประเทศไทย, กรมพลศึกษา, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การภาครัฐบาลและเอกชน ฯลฯ) และองค์กรระหว่างประเทศ ( สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ, สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย, สหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน, สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป เป็นต้น)

- ชั้นที่ 4 อันเป็นชั้นโผล่ขึ้นมาจากน้ำ เป็นตัวแทนของทีมชาติและผู้เล่นของเรา ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามและความร่วมมือในอนาคต ของสมาชิกทุกคนที่ประกอบกันเป็นครอบครัวฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็น นักเตะ, โค้ช, เจ้าหน้าที่สมาคมฯ, องค์กรรัฐบาลและเอกชน, นักการศึกษา, วิทยากรผู้ฝึกสอน, ครอบครัว ผู้สนับสนุน และ สื่อ

ประวัติสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 สมาคมฟุตบอลแห่งชาติสยาม ได้ถือกำ เนิดขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และทรงรับเข้ามาอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) เมื่อ พ.ศ. 2468และจากการที่มีการเปลี่ยนชื่อประเทศ จากสยามมาเป็นประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2482 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก่อนจะเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) ในปี พ.ศ. 2500 และเป็นสมาชิกก่อตั้งของสหพันธ์ฟุตบอลอาเซียน (เอเอฟเอฟ) ในปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อสากล ไม่ว่าจะเป็น การยกระดับมาตรฐานสโมสรด้วยคลับไลเซนซิง, การนำ VAR มาใช้เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับ การพัฒนาผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง, พัฒนาอคาเดมีของไทย ให้ได้รับการรับรองจากเอเอฟซีให้เป็น One-Star Academy ในโครงการ AFC Elite Youth Scheme, การเชิดชูเกียรติบุคลากรในวงการฟุตบอลไทย ด้วยการจัดงานมอบรางวัล FA Thailand Awards เพื่อประกาศเกียรติคุณสู่สาธารณชน, การพยายามนำ วิทยาศาสตร์การกีฬา โภชนาการ และข้อมูลสถิติมาใช้ในการพัฒนานักกีฬา ฯลฯ

ซึ่งทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้แผนแม่บทพัฒนาฟุตบอลแห่งชาติระยะยาว 20 ปี ที่สมาคมฯ จัดทำ ขึ้น เพื่อให้มีรูปแบบการพัฒนา แนวทางเป้าหมายที่ชัดเจน ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้ฟุตบอลไทย ก้าวไปอย่างยั่งยืนในอนาคต

ศตวรรษที่ ๑

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง คณะฟุตบอลสยาม ขึ้นในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 โดยนักฟุตบอลทีมชาติสยาม 11 คนแรก มีรายชื่อดังนี้ อิน สถิตยวณิช (ผู้รักษาประตู) – แถม ประภาสะวัต, ต๋อ ศุกระศร, ภูหิน สถาวรวณิช (กองหลัง) – ตาด เสตะกสิกร, นายกิมฮวด วณิชยจินดา (กองกลาง) – หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร, ชอบ หังสสูต, โชติ ยูปานนท์, ศรีนวล มโนหรทัต, จรูญ รัตโนดม (กองหน้า)

หลังจากการก่อตั้งทีมชาติสยามได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง ทีมชาติสยาม พบกับ ทีมสปอร์ตคลับ ที่มีนักเตะเป็นชาวอังกฤษทั้งหมด เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนในปีเดียวกัน โดยเอกสารเก่าบันทึกว่าทีมชาติสยามในชุดสีขาวแดงเล่นได้ดีกว่าก่อนจะมาได้ประตูจาก ศรีนวล มโนหรทัต นักฟุตบอลจากทีมโรงเรียนราชแทพย์ และหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร กัปตันทีมคนแรกของทีมชาติสยามยิงประตูเข้าไปให้ทีมเอาชนะไปได้ 2-1 ชัยชนะครั้งนั้นถือเป็นตัวจุดกระแสความสนใจฟุตบอลในสยามให้ลุกโชดช่วงขึ้น และยังเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง “สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์” ในปีถัดมาด้วย

5 เดือนต่อมา เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง “สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์” พร้อมทั้งตราข้อบังคับสมาคมฯ และแต่งตั้งคณะสภากรรมการชุดแรก ประกอบด้วยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ 7 ท่าน โดยมีพระยาประสิทธิ์ศุภการ เป็นนายกสภาฯ และพระราชดรุณรักษ์ เป็นเลขาธิการ ในปีเดียวกันได้เริ่มจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่ (ถ้วยพระราชทาน ก) และฟุตบอลถ้วยน้อย (ถ้วยพระราชทาน ข) ขึ้นเป็นครั้งแรก

วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925)พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ “คณะฟุตบอลสยาม” สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ตามหนังสือเชิญของ จูล ริเมท์ ประธานฟีฟ่าชาวฝรั่งเศสในขณะนั้น ซึ่งนับเป็นชาติแรกของทวีปเอเชียที่เข้าร่วมองค์กรลูกหนังโลกและเป็นลำดับที่ 37 ของโลก

พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) ทีมชาติสยามเกือบมีโอกาสได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย โดยในหนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลกชื่อ ว่า “L’ HISTOIRE MERBEILLEUSE DE LA COUPE DU MONDE” ระบุไว้ในหน้า 77 ถึงชื่อทีมชาติของแต่ละโซนที่เข้าร่วมแข่งขันโดยโซนเอเชียนั้นปรากฏว่ามีชื่อ  “Siam (สยาม)“ ร่วมกับ Indes Neerlandaises (หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ หรือ อินโดนีเซียในปัจจุบัน), Japon (ญี่ปุ่น) และ Philippines (ฟิลิปปินส์) อย่างไรก็ดี ตามบันทึกที่สปท.ตรวจพบฉบับหนึ่งระบุว่าสยามประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและ การเดินทางด้วยเรือเดินทะเลเป็นเวลาแรมเดือนก็เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ทีม ชาติไทยไม่ได้เดินทางเพื่อไปยังทวีปอเมริกาใต้

จากนั้น 9 ปี ในสมัยรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ประกาศนโยบาย “รัฐนิยม” ฉบับแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ให้เปลี่ยนชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ จาก “สยาม” เป็น “ไทย” จึงเป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนชื่อจากสมาคมฟุตบอลแห่งชาติสยามเป็นสมาคม ฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อฟุตบอลทีมชาติสยามเป็นฟุตบอลทีมชาติไทย มาจนถึงปัจจุบัน

ทำเนียบนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

1. เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) พ.ศ. 2459-2462
2. หม่อมเจ้าชัชวลิต เกษมสันต์ พ.ศ. 2462-2465
3. พระยานเรนทรราชา (หม่อมหลวงอุรา คเนจร) พ.ศ. 2465-2468
4. พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พ.ศ. 2468-2471
5. พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) พ.ศ. 2471-2474
6. พระยาวิเศษศุภวัตร (เทศสุนทร กาญจนศัพท์) พ.ศ. 2474-2477
7. หม่อมเจ้าสมาคม กิติยากร พ.ศ. 2477-2481
8. พลเรือตรี หลวงเจียรกลการ (เจียม เจียรกุล) พ.ศ. 2496-2498
9. เผชิญ นิมิบุตร พ.ศ. 2498-2499
10. จำเป็น จารุเสถียร พ.ศ. 2503-2504
11. ต่อศักดิ์ ยมนาค พ.ศ. 2504-2516
12. ประชุม รัตนเพียร พ.ศ. 2519-2520
13. อนุ รมยานนท์ พ.ศ. 2518-2519, พ.ศ. 2521–2531
14. ชลอ เกิดเทศ พ.ศ. 2531-2538
15. วิจิตร เกตุแก้ว พ.ศ. 2538-พ.ศ. 2550
16. วรวีร์ มะกูดี พ.ศ. 2550-2558
17. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง พ.ศ. 2559-ปัจจุบัน