29 November 2024

12 วันที่ผ่านมา

สรุป : การประชุมคณะกรรมการอุทธรณ์ ครั้งที่ 4 ประจำฤดูกาล 2567/68

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 คณะกรรมการอุทธรณ์ โดยมีพลตำรวจเอก สุเทพ เดชรักษา เป็นประธาน ได้พิจารณาหนังสืออุทธรณ์ ของสโมสร ยะลา เอฟซี  ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลลีกอาชีพรายการไทยลีก 3 คู่ระหว่างสโมสร พัทลุง เอฟซี พบ สโมสร เอฟซี ยะลา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2567  

#เหตุการณ์
 ในนาทีที่ 90+6 ผู้เล่นสโมสร เอฟซี ยะลา ได้แย่งชิงฟุตบอลกับผู้เล่นสโมสร พัทลุง เอฟซี ในเขต 18 หลา แล้วผู้เล่นสโมสร เอฟซี ยะลา ล้มลงไป ซึ่งผู้ตัดสินเห็นว่าเป็นการชิงจังหวะแย่งชิงฟุตบอลกัน ไม่ได้มีการทำฟาล์วจากผู้เล่นกองหลังของสโมสร พัทลุง เอฟซี ผู้ตัดสินจึงสั่งให้เล่นต่อไป แต่ได้มีผู้รักษาประตูสำรองหมายเลข 99  นายฟิรฮัน มะแซ สโมสร เอฟซี ยะลา ได้วิ่งเข้าไปคัดค้านและใช้มือผลักที่หน้าอกของผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 และได้มีนายซุลกิ๊ฟลี ดีสะเอะ เจ้าหน้าที่ทีม สโมสร เอฟซี ยะลา ได้วิ่งเข้าไปสมทบคัดค้านและได้ใช้ส่วนหัวไหล่ชนกระแทกที่หน้าอกของผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 ด้วย และในเหตุการณ์นี้ได้มีผู้เล่นหมายเลข 14 นายอาลีฟ ตีมุง สโมสร เอฟซี ยะลา ได้ใช้มือชกที่หน้าอกของผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2 ผู้ตัดสินจึงแยกทั้ง 2 ทีม ออกจากกัน และให้ใบแดงกับผู้รักษาประตูสำรองหมายเลข 99 นายฟิรฮัน มะแซ สโมสร เอฟซี ยะลา และผู้เล่นหมายเลข 14 นายอาลีฟ ตีมุง สโมสร เอฟซี ยะลา จากนั้นผู้ตัดสินจึงให้เริ่มการแข่งขันในเวลาที่เหลือจนจบการแข่งขัน
   
# ผลพิจารณาจากคณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท
1) ลงโทษเพิ่มเติม ผู้เล่นหมายเลข 14 นายอาลีฟ ตีมุง สโมสร เอฟซี ยะลา มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 1.12 (1) ถูกพักการแข่งขันและห้ามเข้าสนาม 3 นัด และปรับเงิน 40,000 บาท เนื่องจากเป็นการกระทำต่อเจ้าหน้าที่การแข่งขัน ให้เพิ่มโทษจากเดิมเป็น 2 เท่า จึงเพิ่มโทษถูกพักการแข่งขันและห้ามเข้าสนามเป็น 6 นัด และเพิ่มโทษปรับเงินเป็น 80,000 บาท แต่เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการไทยลีก 3 จึงลงโทษปรับหนึ่งในสี่ ปรับเงิน 20,000 บาท 
 2) ลงโทษ นายซุลกิ๊ฟลี ดีสะเอะ เจ้าหน้าที่ทีม สโมสร เอฟซี ยะลา มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 2.8 (1) ปรับเงิน 60,000 บาท และถูกพักการทำหน้าที่ 3 เดือน เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเจ้าหน้าที่การแข่งขัน ให้เพิ่มโทษจากเดิมเป็น 2 เท่า จึงเพิ่มโทษปรับเงินเป็นปรับเงิน 120,000 บาท แต่เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการไทยลีก 3 จึงลงโทษปรับหนึ่งในสี่ ปรับเงิน 30,000 บาท และเพิ่มโทษถูกพักการทำหน้าที่เป็น 6 เดือน 

สโมสร เอฟซี ยะลา ยื่นอุทธรณ์ ว่ายอมรับผิด และตระหนักถึงความผิด จึงขอความเมตตาและอนุเคราะห์จากคณะกรรมการอุทธรณ์ พิจารณาลดโทษ เนื่องจากการลงโทษดังกล่าวเป็นโทษที่รุนแรงมากสำหรับเจ้าหน้าที่และนักกีฬาฟุตบอลที่ไม่เคยกระทำผิดในลักษณะดังกล่าวมาก่อน ซึ่งได้ทำการสอบสวนพบว่า นายซุลกิ๊ฟลี ดีสะเอะ เพียงแค่ผลักหน้าอกด้วยปลายมือเท่านั้น และผู้เล่นหมายเลข 14 นายอาลีฟ ตีมุง ไม่ได้มีการใช้มือต่อยหน้าอก เพียงแค่ผลักหน้าอกด้วยปลายมือเท่านั้น นอกจากนี้การปรับเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินที่สูง

#ผลพิจารณาจากคณะกรรมการอุทธรณ์

1) มีมติเอกฉันท์ ยืนโทษ ผู้เล่นหมายเลข 14 นายอาลีฟ ตีมุง สโมสร เอฟซี ยะลา มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 1.12 (1) ถูกพักการแข่งขันและห้ามเข้าสนาม 3 นัด และปรับเงิน 40,000 บาท เนื่องจากเป็นการกระทำต่อเจ้าหน้าที่การแข่งขัน ให้เพิ่มโทษจากเดิมเป็น 2 เท่า จึงเพิ่มโทษถูกพักการแข่งขันและห้ามเข้าสนาม 6 นัด และเพิ่มโทษปรับเงินเป็น 80,000 บาท ประกอบกับ ระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 2 ข้อ 2.3 กระบวนการพิจารณาการยื่นอุทธรณ์ ข้อความว่า “กรณีคณะกรรมการอุทธรณ์ยืนโทษ ห้ามลงทำการแข่งขัน หรือห้ามปฏิบัติหน้าที่ตามคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท ไม่ว่าจะมีโทษปรับหรือไม่ หรือมีโทษปรับสถานเดียวก็ตาม ให้คณะกรรมการอุทธรณ์เพิ่มโทษอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ได้รับ” จึงเพิ่มโทษ ถูกพักการแข่งขันและห้ามเข้าสนาม 12 นัด และเพิ่มโทษปรับเงินเป็น 160,000 บาท แต่เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการไทยลีก 3 จึงลงโทษปรับหนึ่งในสี่ ปรับเงิน 40,000 บาท

2) มีมติเอกฉันท์ ยืนโทษ นายซุลกิ๊ฟลี ดีสะเอะ เจ้าหน้าที่ทีม สโมสร เอฟซี ยะลา มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 2.8 (1) ถูกพักการทำหน้าที่ 3 เดือน และปรับเงิน 60,000 บาท เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำต่อเจ้าหน้าที่การแข่งขันให้เพิ่มโทษจากเดิมเป็น 2 เท่า จึงเพิ่มโทษถูกพักการทำหน้าที่เป็น 6 เดือน และเพิ่มโทษปรับเงินเป็น 120,000 บาท ประกอบกับ ระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 2 ข้อ 2.3 กระบวนการพิจารณาการยื่นอุทธรณ์ ข้อความว่า “กรณีคณะกรรมการอุทธรณ์ยืนโทษ ห้ามลงทำการแข่งขัน หรือห้ามปฏิบัติหน้าที่ตามคำตัดสินของคณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท ไม่ว่าจะมีโทษปรับหรือไม่ หรือมีโทษปรับสถานเดียวก็ตาม ให้คณะกรรมการอุทธรณ์เพิ่มโทษอีกหนึ่งเท่าของโทษที่ได้รับ” จึงเพิ่มโทษ ถูกพักการทำหน้าที่ 12 เดือน และเพิ่มโทษปรับเงินเป็น 240,000 บาท แต่เป็นการแข่งขันกีฬาฟุตบอลรายการไทยลีก 3 จึงลงโทษปรับหนึ่งในสี่ ปรับเงิน 60,000 บาท  รวมโทษปรับเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท

ข่าวสารอื่นๆ

Announcement

11 December 2024

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท ครั้งที่ 18 ประจำฤดูกาล 2567/68

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท จัดประชุม ครั้งที่ 18 ประจำฤดูกาล 2567/68 โดยมี นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ เป็นประธาน

Development

11 December 2024

ฝ่ายอบรม สมาคมฯ ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วม "อบรมผู้ฝึกสอน" หลักสูตร บี ประจำปี 2568

ฝ่ายอบรม สมาคมฯ ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วม "อบรมผู้ฝึกสอน" หลักสูตร บี ประจำปี 2568

Development

11 December 2024

ผู้ตัดสินระดับ ไทยลีก 1-2 ทดสอบร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อม ปฏิบัติหน้าที่ใน เลกสอง ฤดูกาล 2024/25

ผู้ตัดสินระดับ ไทยลีก 1-2 ทดสอบร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อม ปฏิบัติหน้าที่ใน เลกสอง ฤดูกาล 2024/25